4 มิถุนายน 2557

เกล็ดเลือดต่ำ


โรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP

โรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP (ย่อมาจาก Idiopathic Thrombocytopenic Purpura แปลว่า มีจ้ำเลือดจากเกล็ดเลือดต่ำจากสาเหตุอะไรก็ตาม ) เป็นภาวะเลือดออกง่ายโดยที่เลือดไม่สามารถเกิดลิ่มเลือดเพื่อห้ามเลือดได้อย่างที่ควรจะเป็น  นั่นเป็นเพราะ เกล็ดเลือดมีจำนวนน้อยจึงไม่สามารถห้ามเลือดได้
เกล็ดเลือดสร้างจากไขกระดูก  เกล็ดเลือดอยู่ในระบบไหลเวียนโลหิต และช่วยห้ามเลือดเมื่อคุณเกิดบาดแผล
คำว่า Idiopathic แปลว่า ไม่ทราบสาเหตุ  Thrombocytopenic แปลว่า เกล็ดเลือดต่ำ  Purpura แปลว่าจ้ำเลือด  ซึ่งเป็นเลือดออกใต้ชั้นผิวหนัง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP นั้นมักจะพบจ้ำเลือดอยู่ที่ผิวหนังครับ  จ้ำเลือดนั้นเกิดจากเลือดออกจากหลอดเลือดขนาดเล็ก ทำให้มีเลือดออกเป็นจุด หรือเป็นจ้ำ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP อาจมีเลือดออกทางจมูก  หญิงที่เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP มักจะมีประจำเดือนออกมาก
เลือดออกในสมองพบได้ไม่บ่อย  แต่ถ้าเกิดก็เป็นอันตรายถึงชีวิต
ส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายเกล็ดเลือดครับ  แต่ว่าไม่ทราบว่าทำไม
ประเภทของโรคเกล็ดเลือดต่ำITP
มีอยู่ 2 ประเภท  เฉียบพลัน(เพิ่งเกิด)  เรื้อรัง(เกิดมานาน)
  • โดยปกติแล้วชนิดเฉียบพลันมักหายภายใน 6 เดือน และมักจะเกิดกับเด็ก  ทั้งผู้ชายและผู้หญิงครับ  และมักจะเกิดภายหลังการติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • ส่วนชนิดเรื้อรังนั้นก็คือ เกิดมานานกว่า 6 เดือนแล้วและมักจะเกิดในผู้ใหญ่  เด็กก็เกิดชนิดเรื้อรังได้ครับแต่น้อย  และชนิดเริ้อรังจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 
การรักษาขึ้นอยู่กับว่าเกล็ดเลือดมีจำนวนน้อยเพียงใด  ถ้าน้อยไม่มาก อาจไม่จำเป็นต้องรักษา
ส่วนใหญ่แล้วโรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP มักจะไม่รุนแรงครับ ยกเว้นเลือดออกในสมอง(ซึ่งเกิดน้อยมากมาก แต่ทำให้เสียชีวิตได้)
ถ้าเกิดในเด็ก ก็มักจะหายเองภายใน 2-3 สัปดาห์  และ 80% ของเด็กที่เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP มักจะมีปริมาณเกล็ดเลือดกลับคืนมาปกติภายในระยะเวลา 6-12 เดือน  แต่ก็มีอยู่ 5% ที่ยังต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง
ถ้าเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP ชนิดเรื้อรัง อาจสามารถป่วยได้หลายปี  แต่ว่าแม้แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรค ITP ระดับรุนแรง ก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็น 10 ปี ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีจุดจุดหนึ่งที่สามารถหยุดการรักษาได้ และคงระดับของเกล็ดเลือดในปริมาณที่ปลอดภัย

ไอทีพีผู้ป่วยจะมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดได้ตามปกติ แต่ร่างกายมีการสร้างสารต้านเกล็ดเลือด หรือแอนติบอดีต่อเกล็ดเลือด (platelet antibody) ขึ้นมาทำลายเกล็ดเลือดของตัวเอง จึงทำให้เกล็ดเลือดต่ำ และเลือดออกง่าย  ในเด็ก อาจเกิดอาการหลังติดเชื้อไวรัส
ฮีโมฟิเลียมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ X-linked (มีความผิดปกติที่โครโมโซม X) เช่นเดียวกับภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี  ดังนั้นจึงพบว่า มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ ผู้หญิงจะมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ซึ่งไม่แสดงออกแต่สามารถถ่ายทอดไปให้ลูกหลาน ผู้หญิงส่วนน้อยมากที่อาจมีอาการของโรคนี้ แต่ จะต้องมีทั้งพ่อและแม่ที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ทั้งคู่ 

ภาวะเกร็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็ก เรียกว่า ITP ชนิดที่เกิดขึ้นเฉียบพลันทันทีทันใดพบได้ทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในช่วงอายุ 2-6 ปี และมักจะหายเป็นปกติภายใน 6 เดือน เด็กที่อายุมากกว่า 10 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคเกร็ดเลือดต่ำ ITP ชนิดเรื้อรัง ในรายที่มีเกร็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และมีเลือดออกมาก จำเป็นต้องให้การรักษาจำเพาะที่ทันท่วงที และพิจารณาตัดม้ามเมื่อเด็กมีอายุเกิน 4 ปี
สาเหตุสำคัญของโรคเกร็ดเลือดต่ำชนิด ITP ในเด็ก มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อเกร็ดเลือดของตนเอง ทำให้เกิดการทำลายเกร็ดเลือดของตนเองที่ม้าม จำนวนเกร็ดเลือดในกระแสเลือดจะลดต่ำลง ทำให้เกิดปัญกาเลือดออกเนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ ที่พบได้บ่อยคือ พบจ้ำเลือดตามผิวหนัง หรือมีเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เซลล์ต้นกำเนิดของเกร็ดเลือดในไขกระดูกจะสร้างเกร็ดเลือดตัวอ่อนๆ เพิ่มขึ้นสู่กระแสเลือด แต่เกร็ดเลือดที่สร้างใหม่นี้จะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ระดับเกร็ดเลือดในเลือดต่ำ
ลักษณะอาการของโรคนี้ ผู้ป่วยจะมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 2-3 สัปดาห์ ตามหลังการติดเชื้อไวรัส โดยมีประวัติเป็นไข้หวัดนำมาก่อนเกิดปัญหาเลือดออก หรือได้รับวัคซีนชนิดตัวเป็น บางรายมีเลือดกำเดาไหล เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องปาก ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกใต้เยื่อบุตา มีประจำเดือนออกมากผิดปกติ บางรายมีเลือดออกในสมองซึ่งต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยโรคเกร็ดเลือดต่ำชนิด ITP ตับและม้ามมักจะไม่โต ตรวจไขกระดูกแล้วพบว่าปกติ พบเซลล์ต้นกำเนิดของเกร็ดเลือดตัวอ่อนมีจำนวนเพิ่มขึ้น
โลหิตหรือเลือดเป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือดทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ร่างกายมนุษย์ใช้ในการสร้างเม็ดโลหิตคือไขกระดูก ในร่างกายของคนเรามีโลหิตมากน้อยตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณ 80 ซีซีต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม ดังนั้นถ้าท่านมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ท่านจะมีโลหิตประมาณ 4000 ซีซี โลหิตแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ เม็ดโลหิตซึมมีอยู่ประมาณ 45% และส่วนที่เป็นน้ำหรือพลาสมาประมาณ 55%
เกร็ดเลือดมีความจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือด เป็นส่วนของเมกะคารีโอไซท์ (megakaryocytes) ซึ่งเป็นระยะหนึ่งของเม็ดเลือดแดงที่ถูกสร้างมาจากไขกระดูกแต่ไม่พัฒนาต่อ โดยปรกติเกร็ดเลือดในกระแสเลือดจะเป็นแผ่นรูปไข่ แต่ถ้านำมาย้อมสีดูในกล้องจุลทรรศน์จะเป็นแผ่นกลมรูปร่างคล้ายดาว หรืออาจจะพบเป็นกลุ่ม รูปร่างไม่แน่นอน เกร็ดเลือดมีอายุ 8 -11 วัน หน้าที่หลักของเกร็ดเลือด คือลดการสูญเสียเลือดจากร่างกายในกรณีที่เกิดบาดแผล โดยเกาะกันจับกับผนังของหลอดเลือดหรือบริเวณอื่น ๆ ที่เกิดบาดแผล แล้วประกอบกันเป็นก้อนที่หยุดการไหลของเลือด อุดปากแผลทำให้หยุดการไหลของเลือดได้ โดยทำงานร่วมกับไฟบรินและมีโปรตีนซึ่งเป็นปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดเป็น ตัวช่วยในการทำงาน
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

1.    ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คืออะไร  อยากให้คุณหมอช่วยอธิบายว่าโรคนี้เป็นอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ   ก่อนอื่นที่เราจะพูดถึงภาวะนี้ หมอขออธิบายเรื่องของส่วนประกอบของเลือดบางส่วน  เพื่อเป็นพื้นฐานจะได้เข้าใจว่าเกล็ดเลือด คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร
ในเลือดของคนที่เราเห็นเป็นน้ำสีแดง จริงๆในเลือดเรามีส่วนประกอบของสารต่างๆมากมาย  แต่ส่วนหลักๆเราอาจจะแบ่งเป็น 2   ส่วนใหญ่ๆได้แก่         
        1. เซลล์เม็ดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วย เซลล์เม็ดเลือดหลักๆ 3 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง  เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด ซึ่งหมอจะได้อธิบายถึงหน้าที่ต่อไป
        2. ส่วนของน้ำเลือด ประกอบด้วย สารชีวโมเลกุลมากมาย รวมทั้งโปรตีนหลากหลายชนิดที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
                สำหรับเซลล์เม็ดเลือดทั้งสามชนิดของคนเรา  มีบทบาทหน้าที่และมีความสำคัญต่อร่างกายมากมาย ได้แก่
         -    เซลล์เม็ดเลือดแดง  (Red blood cells) เป็นเซลล์ที่มีจำนวนมากที่สุดในร่างกายประมาณ 4- 6 ล้านเซลล์ต่อลิตร เป็นเซลล์กลมเว้าตรงกลาง มี ขนาก 4-6 ไมครอน ในแม็ดเลือดแดงที่เป็นสีแดง  เพราะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน(hemoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงและมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ  เป็นส่วนสำคัญที่จะนำพาออกซิเจนไปยังเชลล์ต่างๆในร่างกายให้ได้รับพลังงาน
         -    เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cells )   ในเลือดประกอบด้วยเม็ดเลือดขาว 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีหน้าที่แตกต่างกัน และมีปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นกับสภาวะของร่างกาย ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ต่อสู้กับเชื้อโรคสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย  มีการ สร้างและหลั่งสารต่างๆมากมายที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้ามาในร่างกายโดยเฉพาะสารสำคัญชนิดหนึ่ง  ที่เรียกว่า แอนติบอดี้  ดังนั้นถ้ามีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำก็ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้มีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อน หรือเชื้อฉวยโอกาสง่าย  แต่ถ้ามีภาวะที่เม็ดเลือดขาวสูงผิดปรกติ อาจบ่งชี้ภาวะการติดเชื้อ การอักเสบ หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
         -     เซลล์เกล็ดเลือด  (Platelets) มีบทบาทสำคัญในเรื่องการแข็งตัวของเลือด  หากมีบาดแผลแล้วมีเลือดออกร่างกายก็มีกลไก กระตุ้นให้เกล็ดเลือดทำงาน โดยเกล็ดเลือดจะไปรวมกลุ่มบริเวณที่มีบาดแผล และหลั่งสารบางอย่างกระตุ้น ทำให้เกิดขบวนการแข็งตัวของเลือดและทำให้เกิดลิ่มเลือดที่แข็งแรงสามารถห้ามเลือดได้

          ดังนั้น ถ้าเรามีปัญหาเรื่องเกล็ดเลือดต่ำ หรือสูงผิดปรกติ หรือหน้าที่ของเกล็ดเลือดผิดปรกติ  ก็จะส่งผลให้เรามีภาวะเลือดออกง่าย หรือภาวะที่เลือดหยุดไหลยาก
         ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ    โดยนิยาม คือ ภาวะที่เตรวจพบเกล็ดเลือดต่ำกว่าค่าปรกติ โดยค่าเกล็ดเลือดมาตราฐาน ควรอยู่ในช่วง 140,00 – 450,000  cell/ L แต่ภาวะที่ทำให้เกิดเลือดออกเองได้นั้น ถ้าเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 /l  แต่ถ้าเกล็ดเลือดน้อยกว่า 10,000  อาจมีภาวะเลือดออกเองอันตรายถึงชีวิตได้

2.    สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คืออะไร
เราแบ่งภาวะเกล็ดเลือดต่ำตามสาเหตุการเกิด  สามารถแบ่งได้เป็น 3  สาเหตุใหญ่ๆ คือ

         2.1 มีปัญหาการสร้างลดลง  คือ มีภาวะบางอย่างที่ทำให้สร้างเกล็ดเลือดในไขกระดูกลดลง ได้แก่ โรคในกลุ่มมะเร็งเม็ดเลือดขาวทั้งชนิดเฉียบพลันหรือที่เป็นเรื้อรัง ที่มีต้นกำเนิดจากไขกระดูกเอง หรือเกิดจากมีการรุกรานของไขกระดูกอาจจะเป็นมะเร็งอื่นๆที่ไม่ใช่เม็ดเลือดก็ได้ หรือ เกิดจากภาวะติดเชื้อบางอย่าง เช่น คนที่ติดเชื้อเอดส์ (HIV) ไปมีผลต่อการสร้างเซลล์ตัวอ่อนของเกล็ดเลือดในไขกระดูก   หรือได้รับสารเคมีบางอย่าง  เช่น ยารักษามะเร็ง หรือมีประวัติเคยได้รับการฉายแสงมาก่อน   โรคของไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia) , โรคไขกระดูกเสื่อม (Myelodysplastic syndrome) หรือแม้แต่ การดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้การสร้างเกล็ดเลือดลดลงได้

        2.2 มีปัญหาการทำลายเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น  ซึ่งเรายังแบ่งย่อยๆตามกลไกการเกิด  ได้ 2 ชนิด
                 2.2.1  ภาวะจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ (Immune) คือ การที่ร่างกายสร้างโปรตีน ที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (antibody)ไปทำลายเกล็ดเลือดของตนเอง ซึ่งแอนติบอดี้ที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการกระตุ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งพบได้ในโรค เหล่านี้ ได้แก่ 
-ITP (Idiopathic thrombocytopenic purpura) คือภาวะที่เลือดของผู้ป่วยมีแอนติบอดี้ไปทำลายเกล็ดเลือดของผู้ป่วยเอง  ซึ่งภาวะปกติแอนติบอดี้เหล่านี้ควรจะทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่ไม่ใช่เซลล์ตนเอง  แต่แอนติบอดี้ที่ผิดปรกติ อาจถูกกระตุ้นจากบางสิ่งที่ไม่ทราบสาเหตุ  การวินิจฉัยภาวะนี้ต้องตัดสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำก่อน เช่น ที่เกิดจากยา สุรา  การติดเชื้อ หรือโรคกลุ่มภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อกลุ่มอื่นๆ ออกไปก่อน จึงคิดถึงภาวะนี้  เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกล็ดเลือดต่ำมักพบในวัยเด็ก หรือ วัยผู้ใหญ่ แต่ในผู้สูงอายุจะคิดถึงโรคนี้น้อย
-Drug induced antibodies เป็นภาวะที่มีแอนติบอดี้เกิดขึ้นจากการได้รับยาบางชนิด และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อยา  โดยที่อาจมีบางส่วนของยาที่คล้ายกับสารบนผิวเกล็ดเลือด จึงเกิดไปทำลายเกล็ดเลือดได้
-HIV, Hepatitis C คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันผิดปรกติจากการติดเชื้อโรคบางอย่าง โดยฉพาะ ไวรัส ทำให้เกิดแอนติบอดี้ที่ไปทำลายเกล็ดเลือดเช่นกัน
-Connective tissue disease เช่น โรค SLE ที่ผู้ป่วยจะสร้างแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตนเอง และต่อระบบต่างๆในร่างกายหลายๆระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงที่ระบบเลือดเท่านั้น
-Post transfusion purpura เป็นปฏิกริยาที่เกิดจากได้รับเลือด ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ได้
               
2.2.2  ภาวะที่ไม่ได้เกิดจาภูมิคุ้มกันผิดปรกติ( Non immune)  ไม่เกี่ยวข้องกับแอนติบอดี้ที่ไปทำลายเกล็ดเลือด  แต่อาจเกิดจากภาวะที่มีการติดเชื้อ ที่ทำให้ร่างกายมีการกระตุ้นขบวนการแข็งตัวของเลือดมากผิดปรกติ ทำให้เกล็ดเลือดถูกใช้ไปจำนวนมาก จึงมีปริมาณลดลงย่างรวดเร็ว  ที่เรียกว่าภาวะ DIC  หรือพบได้ในคนที่มีปัญหาที่ลิ้นหัวใจก็ได้ ที่ไปทำลายเกล็ดเลือดที่ผ่านไปยังบริเวณหัวใจ
        
         2.3 ภาวะที่ม้ามทำลายเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น (Hypersplenism) มักจะพบร่วมกับผู้ป่วยที่มีปัญหาม้ามโตและมีโรคตับอยู่ หรือบางคนมีปัญหาตับแข็ง ซึ่งอาจเกิดจากการดื่มสุรา หรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบก็ได้

3.    จะทราบได้อย่างไรว่าเรากำลังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ   
  อย่างที่กล่าวไปตอนต้นถ้าเกล็ดเลือดต่ำไม่มาก โดยเฉพาะถ้ามากกว่า 50,000 cell ต่อลิตร มักไม่ค่อยมีอาการให้เห็น ยกเว้นได้รับอุบัติเหตุแรงๆ อาจจะทำให้มีปัญหาเลือดออกมากๆได้  ส่วนใหญ่ จะทราบได้จากการตรวจเลือด ที่เรียกว่า การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ CBC (complete blood count) แต่ถ้าในผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้ ก็อาจสงสัยว่าจะมีความผิดปรกติของเกล็ดเลือดได้ค่ะ
         -   มีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เป็นจุดแดงคล้ายยุงกัด แต่ไม่นูนและไม่มีอาการคัน โดยไม่มีอาการใดๆนำมาก่อน
        -   มีลักษณะพรายย้ำ จ้ำเขียว ขึ้นตามร่างกายในตำแหน่งที่ไม่ได้โดนกระแทก เช่น ที่หลัง ใบหน้า ลำตัว หรือ ต้นแขน โดยเกิดขึ้นเอง
         -   ในเพศหญิง อาจมีปัญหาเรื่องของประจำเดือนมาผิดปกติ มามากหรือนานกว่าปกติ  โดยไม่ได้ทานยาคุมหรือฉีดยาคุมใดๆ
       -   การมีเลือดออกตามเยื่อบุต่างๆ เกิดขึ้นเอง เช่น เลือดกำเดาไหล หรือ เลือดออกตามไรฟัน โดยไม่มีปัญหาในช่องปากมาก่อน

         แนวทางการรักษาอย่างไร ถ้าหากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
  ถ้ากรณีฉุกเฉินผู้ป่วยมาด้วยมีปัญหาเลือดออก โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญๆ เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง เลือดออกในทางเดินอาหาร  จำเป็นต้องให้เกล็ดเลือดทดแทนก่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนและหาสาเหตุต่อไป
        
          ถ้ากรณีผู้ป่วย  ไม่มีปัญหาเลือดออกรุนแรง  แพทย์ต้องหาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุที่ได้กล่าวไป กรณีที่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปรกติโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยยาที่กดภูมิคุ้มกันที่ผิดปรกติ  ซึ่งมีหลายชนิด แพทย์จะให้ยาที่เป็นตัวหลักก่อน  ส่วนใหญ่จะเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ หากไม่ได้ผลในยาหลัก ก็จะพิจราณาให้ยาตัวอื่นๆเพิ่มเข้าไป  ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของผู้ป่วยและโรคที่ผู้ป่วยเป็น แต่อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยเช่นกัน ดังนั้นแพทย์จำเป็นต้องอธิบายให้กับผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงสาเหตุและแนวทางการรักษาผู้ป่วยอย่างละเอียด และทราบถึงผลข้างเคียงจากการรักษาเช่นกัน แล้วจึงพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสม


ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ
  1.4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า (แอดวานซ์)

 2.4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์แฟกเตอร์ ริโอวิด้า ไตร-แฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า(ริโอวิด้า)

ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.4lifemeethanya.tht.bz



สนใจติดต่อ 087-9257966  (หมี) สอบถามทาง lineได้นะคะ
 LINE ID : mameemaka 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น