มะเร็งคืออะไร
อวัยวะต่างๆ ของร่างกายประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อหลายชนิด โดยมีหน่วยที่เล็กที่สุดคือเซลล์ โรคมะเร็ง คือ โรคที่มีความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์ ก่อให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมที่ เหมาะสม ผลลัพธ์คือ การเกิดเป็นก้อนเนื้อมะเร็งที่เติบโตรบกวน การทำงานของเซลล์ปกติในอวัยวะ นอกจากนี้ยังสามารถลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย มะเร็งอาจมีความแตกต่างได้มากมาย ตามตำแหน่งของอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของมะเร็ง และชนิดของเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในอวัยวะนั้นๆ
เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้อย่างไร
เซลล์ปกติอาจมีการเจริญเติบโตโดยการแบ่งตัวและตายอย่างเป็นระบบ และมีการควบคุมที่เหมาะ สม ทำให้อวัยวะและร่างกายมนุษย์ทำงานได้เป็นปกติ เซลล์แต่ละชนิดในอวัยวะที่ต่างกันอาจมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกันได้ตาม ความเหมาะสมของหน้าที่ของแต่ละอวัยวะ
การที่เซลล์จะทำงานอย่างเป็นปกติ ส่วนหนึ่งเกิดจากการกำหนดหน้าที่ของเซลล์ด้วย
สารพันธุกรรมที่เรียกว่าดีเอ็นเอ (DNA) ภายในเซลล์ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของ DNA เซลล์นั้นอาจมีความผิดปกติในการแบ่งตัวเจริญเติบโต ถ้ามีการสะสมความ
เปลี่ยนแปลงมากพอ เซลล์จะกลายไปเป็นเซลล์ก่อกำเนิดมะเร็ง และพัฒนาจนกลายเป็นเนื้อเยื่อมะเร็งในที่สุด
การเปลี่ยนแปลงของ DNA หรือการกลายพันธุ์ อาจเกิดจากการที่เซลล์ได้รับสารกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ เช่น สารเคมีบางอย่าง ควันบุหรี่ เชื้อไวรัสบางชนิด ในเซลล์ปกติจะมีกลไกการควบคุมการกลายพันธุ์โดยการซ่อมแซมสาย DNA หรือทำให้เซลล์ที่มี DNA ผิดปกติตายไป แต่เซลล์ที่จะกำเนิดเป็นเซลล์มะเร็งจะเล็ดลอดกระบวนการตรวจสอบนี้ได้
มะเร็งมีความแตกต่างกันหรือไม่
มะเร็งที่เกิดขึ้นในอวัยวะที่ต่างกันจะมีความแตกต่างกัน
ทั้งในด้านลักษณะของเซลล์
การเจริญเติบโต การแพร่กระจาย การตอบสนองต่อการรักษา มะเร็งที่ตั้งต้นในอวัยวะหนึ่ง แม้ว่าแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่ไกลออกไป แต่ยังคงคุณสมบัติส่วนใหญ่ของเซลล์มะเร็งชนิดเดิม เช่น มะเร็งปอดที่แพร่กระจายไปที่ตับ ยังคงเป็นเซลล์มะเร็งปอด ไม่ได้กลาย ไปเป็นมะเร็งของเซลล์ตับ การรักษายังคงใช้ยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งปอด ซึ่งแตกต่างจากยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งตับ เป็นต้น
การเจริญเติบโต การแพร่กระจาย การตอบสนองต่อการรักษา มะเร็งที่ตั้งต้นในอวัยวะหนึ่ง แม้ว่าแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่ไกลออกไป แต่ยังคงคุณสมบัติส่วนใหญ่ของเซลล์มะเร็งชนิดเดิม เช่น มะเร็งปอดที่แพร่กระจายไปที่ตับ ยังคงเป็นเซลล์มะเร็งปอด ไม่ได้กลาย ไปเป็นมะเร็งของเซลล์ตับ การรักษายังคงใช้ยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งปอด ซึ่งแตกต่างจากยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งตับ เป็นต้น
มะเร็งแพร่กระจายได้อย่างไร
เซลล์มะเร็งตั้งต้นมาจากเซลล์ปกติใน อวัยวะตั้งต้นของโรคมะเร็ง เมื่อมีการเจริญเติบโตมากพอ เซลล์มะเร็งมักจะแทรกซึมเข้ากระแสเลือดหรือทางเดินน้ำเหลือง ทำให้ลอยไปสู่อวัยวะอื่นที่เป็นเป้าหมายในการแพร่กระจาย กลไกการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมีความซับซ้อนและหลายขั้นตอน การกระทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การนวด การงดอาหารบางอย่าง ย่อมไม่มีผลที่ชัดเจนต่อการแพร่กระจายโรคมะเร็ง ไม่สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อมะเร็ง หรือกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้
สงสัยว่ามีอาการเหล่านี้เป็นมะเร็งได้หรือไม
โรคมะเร็งสามารถทำให้เกิดอาการหรือความ รู้สึกผิดปกติต่อผู้ป่วย และมีการแสดงออกซึ่งตรวจพบได้โดยแพทย์ ทั้งอาการและสิ่งที่ตรวจพบเป็นผลมาจากการที่มะเร็งลุกลามอยู่ในอวัยวะตั้ง ต้นหรืออวัยวะใกล้เคียงของเนื้อเยื่อมะเร็ง หรือเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะที่ไกลออกไป นอกจากนี้มะเร็งบางชนิดอาจหลั่งสารบางอย่างที่ทำให้ เกิดผลต่อการทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกายได้อีกด้วย เช่น เกิดอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือเกิดความผิดปกติของสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายผู้ป่วย
อาการของโรคมะเร็งเกือบทั้งหมดเป็นอาการที่ไม่จำเพาะต่อโรคมะเร็ง กล่าวคือ
มีโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งสามารถทำให้เกิดอาการที่คล้ายหรือเหมือนกันกับ โรคมะเร็งได้ ว่ากันตามจริงแล้ว อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทั่วไปมักไม่ใช่อาการของโรคมะเร็ง
หลายท่านอาจเคยพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ไม่รู้ตัวหรือไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า แล้ว
พบว่าเกิดเป็นมะเร็งในระยะแพร่กระจายไปแล้ว ทั้งนี้ โรคมะเร็งหลายชนิดเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง แพร่กระจายได้รวดเร็ว ประกอบกับอวัยวะที่เกิดโรคมะเร็งเป็นอวัยวะที่อยู่ในที่ตรวจได้ยาก เช่น ในช่องท้อง หรือเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้เวลานานกว่าจะเกิด ก้อนมะเร็งที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ปอด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งในการวินิจฉัยโรคมะเร็งระยะ เริ่มต้น
อาการโรคมะเร็งที่น่าสงสัย
อาการของโรคมะเร็งตามอวัยวะที่น่าสงสัยจะนำผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อทำการสืบค้น
สาเหตุที่แน่ชัดต่อไป อาการของมะเร็งในอวัยวะที่พบบ่อย ได้แก่
ไอมีเสมหะปนเลือด อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปอด แต่อาจสับสนกับวัณโรคหรือ
โรคปอดอักเสบชนิดอื่น การที่มีเลือดออกจากจมูกแล้วลงคอ ทำให้เสมหะมีเลือดปน
ถ้าท่านมีอาการดังกล่าว โดยเฉพาะอาการที่ไม่ทุเลาหรือหายไปในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ไอเรื้อรังและมีเสียงแหบ อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งกล่องเสียงหรือมะเร็งปอด โดยเฉพาะถ้าไม่มีอาการของไข้หวัด คือ มีไข้ มีน้ำมูก และมีเสมหะมาก่อนหน้า
คลำก้อนได้ที่เต้านมหรือที่อื่นของร่างกายที่ไม่เคยคลำได้มาก่อน แม้ว่าก้อนเต้านมส่วนใหญ่มักจะไม่ใช่โรคมะเร็งก็ตาม
ถ่ายอุจจาระลำบาก ท้องผูกสลับกับท้องเดิน อาจเป็นอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่
โดยเฉพาะถ้ามีอาการต่อเนื่องมากกว่า 2 สัปดาห์ ร่วมกับน้ำหนักลด
มูกหรือเลือดออกทางทวารหนักหรือช่องคลอด อาจเป็นอาการของมะเร็งทางนรีเวช
เช่น มะเร็งปากมดลูก หรือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนไส้ตรง
ปัสสาวะมีเลือดปน อาจ เป็นอาการของโรคมะเร็งทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ถ้าเป็นเพศหญิง ควรระวังการสับสนว่าเป็นเลือดออกจากทางเดินปัสสาวะ หรือออกจากช่องคลอด
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากอาการตามอวัยวะที่เกิดขึ้น ยังมีอาการของโรคมะเร็ง
ทั่วไปที่ไม่จำเพาะ ซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้ถ้าผู้ป่วยสังเกตพบ ได้แก่
น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุกรณีที่ท่านไม่ได้ตั้งใจจะลดน้ำหนัก หรือมีการเปลี่ยนแปลง
การรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด
ไข้เรื้อรัง โดยเฉพาะไข้ที่เป็นมานานกว่า 1 สัปดาห์ อาจเป็นอาการของมะเร็งเม็ดโลหิตหรือต่อมน้ำเหลือง
ปวดตามตัวหรือที่กระดูก โดยเฉพาะอาการปวดที่ต่อเนื่อง และมีอาการปวดช่วงกลางคืน อาจเป็นอาการของมะเร็งแพร่กระจายเข้ากระดูกได้
อ่อนเพลียเบื่ออาหาร อาจ เป็นอาการของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน หรือเป็นแค่อาการที่เกิดจากมะเร็งโดยไม่เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะดังกล่าว ก็ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่พบบ่อย
ปัจจัยเสี่ยงบางประการที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่พบบ่อย
และท่านอาจหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ 1.การสูบบุหรี่ ทั้งที่มีจำหน่ายหรือบุหรี่มวนเอง ซิการ์ กล้องยาสูบ หรือการเคี้ยว
ยาสูบ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งปอด มะเร็งในช่องปาก กล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งของตับอ่อน แม้ว่าในประเทศไทยจะมี การรณรงค์ควบคุมการสูบบุหรี่อย่างดีเยี่ยม แต่ก็ยังมีผู้สูบบุหรี่ใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ ในกลุ่มวัยรุ่นและเพศหญิง การลดปัจจัยเสี่ยงข้อนี้สามารถทำได้ง่ายโดยการงดสูบบุหรี่
2.การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี มีความสัมพันธ์ต่อการ
เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับ ไวรัสเอปสไตน์บารร์มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกหรือมะเร็งต่อม น้ำเหลืองชนิด Burkitt ไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus) เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง หรือ มะเร็งช่องปากและคอ ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นต้น
3.การดื่มสุราเป็นอันตรายต่อตับ สามารถทำให้เกิดตับอักเสบและตับแข็ง ซึ่งเป็น
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับตามมา นอกจากนี้ สุรายังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
ในช่องปากและคอ เช่นกัน ไม่นับรวมผลเสียจากการดื่มสุราอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
นอกจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรง ย่อมเป็นผลดีต่อร่างกาย เช่น การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ มีสารอาหารครบถ้วน เลี่ยงหรือลดการบริโภคอาหารไขมันสูง การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนและ ผ่อนคลายความตึงเครียด จะทำให้ท่านมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ต่อสู้กับโรคมะเร็งและ โรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น