โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน osteoporosis
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่
เป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับที่ 2 รองจากโรคของระบบหัวใจและ
หลอดเลือด ข้อมูลทั่วโลกระบุว่า ประชากร 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1
ใน 8 ของผู้ชาย ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูก
หักจากโรคกระดูกพรุน(Osteoporotic fracture) ยิ่งไปกว่านั้นมีการ
คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยที่มีการหักของกระดูกสะโพก (Hip
fracture) จะเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนในปีค.ศ. 1990 เป็น 6.3 ล้าน
คนในปีค.ศ. 2050 เนื่องจากประชากรโลกมีอายุยืนมากขึ้น
โรคกระดูกพรุนคืออะไร
เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อกระดูก โดยมวลและความหนาแน่นของกระดูกลดลงซึ่ง
ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง ข้อมือ
สะโพก กระดูกเชิงกราน และต้นแขน มักพบในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วย
ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนจนกระทั่งกระดูกหัก จากรายงานการศึกษา
ขององค์การอนามัยโลก พบว่า การตรวจความหนาแน่นของกระดูกตั้งแต่เนิ่นๆจะ
สามารถลดผลกระทบจากโรคกระดูกพรุนได้
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนแบบง่ายๆมีดังนี้
-ประวัติทางการแพทย์
-การตรวจเบื้องต้น เช่น เอ็กซ์เรย์
-หาความหนาแน่นของกระดูก ด้วยวิธี QCT(quantitative computed tomography)
QUS(quantitative ultrasound scanning)
-ใช้เครื่อง DEXA (Dual energy x-ray absorptionmetry) โดยวัดความหนาแน่น
ของกระดูกที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา ปลายกระดูกข้อมือ และนำ
ค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าปกติในเพศและอายุช่วงเดียวกัน
-การตรวจวัดทางชีวเคมีของการสลายตัวของกระดูก (Biochemical
markers of bone turnover) สามารถวัดได้จากทางเลือดหรือปัสสาวะ
-การวัดการสร้างกระดูกใหม่ (Bone formation)
-การแตกหักของกระดูก (Bone breakdown)
แนวทางการรักษา
-การจำกัดอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่และรับประทานแคลเซียมในปริมาณ
1,000 มก./วัน ตั้งแต่เด็ก
-การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
-ลดการใช้ยาคอร์ติโซน(Cortisone) และให้รับประทานยาป้องกันกระดูกพรุนเมื่อ
จำเป็นต้องใช้ยาคอร์ติโซน
-รับประทานแคลเซียมและวิตมินดีเสริม
-การใช้ยารักษา เช่น การให้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีหลังวัยหมด
ประจำเดือน ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนส (Bisphosphonate) และวิตามินดี
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 4ไล้ฟ์ ที่แนะนำสำหรับป้องกันโรคกระดูกพุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น