คือ โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่ายกว่าคนปกติ
A = Acquired หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด
I = Immune หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย
D = Deficiency หมายถึง ความเสื่อมลง
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ หรืออาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะระบบใดระบบหนึ่ง
HIV ทำให้เกิด AIDS ได้อย่างไร (HIV
pathogenesis)
เอดส์ เป็นระยะสุดท้ายของ HIV infection เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ (opportunistic infection) การดำเนินโรคของ HIV นับตั้งแต่เริ่มติดเชื้อใหม่ ๆ จะมีไวรัสมากในกระแสเลือด ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง humoral immunity และ cellular immunity จะมีการทำลายไวรัสและทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตและการลุกลามของโรคแต่พอถึงระยะหนึ่งจะมีการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 (T helper cell) ปัจจุบันพบว่ามีเซลล์อื่น ๆ ที่สามารถถูกติดเชื้อได้โดยไวรัส HIV เช่น macrophage, dendritic cell ใน lymph node เป็นต้น HIV จะเข้าสู่เซลล์จะอาศัย receptor ที่อยู่บนผิวเซลล์ คือ CD4 ซึ่งปัจจุบันพบว่า HIV ยังต้องอาศัย coreceptor อื่น ๆ เช่น CCR5, CXCR4 ซึ่งเป็น chemokine receptor จากการค้นพบ receptor ต่าง ๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำให้เกิดโรคของ HIV และนำไปสู่การรักษาโรคในอนาคต ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์แบ่ง HIV-1 ออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะของการเข้าเซลล์ คือ
1. M - tropic virus (macrophage - tropic virus) จะเข้าสู่เซลล์โดยอาศัย CD4 และ chemokine receptor CCR5 เป็น coreceptor เป็นไวรัสที่ infect CD4 T cells และ macrophage และเป็นไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบในช่วงที่มีการติดเชื้อใหม่ ๆ และในระยะที่ไม่มีอาการ
2. T- tropic virus (T cell - tropic primary virus) เป็นไวรัสที่เข้าสู่เซลล์โดยอาศัย CD4 และ chemokine receptor CXCR4 (fusin) เป็น coreceptor พบในระยะท้าย ๆ ของโรค และพบร่วมกับการลดลงของ CD4 Tcell และการดำเนินโรคในระยะที่เป็นเอดส์
การค้นพบ receptor ใหม่ เมื่อตรวจสอบดู CCR5 พบว่ามีการกลายพันธุ์ในยีนนี้โดยที่มีการขาดหายไปของนิวคลิโอไทด์ 32 ตัว ทำให้ไม่มีการ express ของ CCR5 ที่ผิวเซลล์ ไวรัสจึงเข้าเซลล์ไม่ได้และพบในคนไข้บางรายที่มีการดำเนินโรคช้าจะมียีนของ CCR5 ข้างหนึ่งเกิดการกลายพันธุ์ (heterozygous CCR5)
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
เอดส์ เป็นระยะสุดท้ายของ HIV infection เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ (opportunistic infection) การดำเนินโรคของ HIV นับตั้งแต่เริ่มติดเชื้อใหม่ ๆ จะมีไวรัสมากในกระแสเลือด ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง humoral immunity และ cellular immunity จะมีการทำลายไวรัสและทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตและการลุกลามของโรคแต่พอถึงระยะหนึ่งจะมีการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 (T helper cell) ปัจจุบันพบว่ามีเซลล์อื่น ๆ ที่สามารถถูกติดเชื้อได้โดยไวรัส HIV เช่น macrophage, dendritic cell ใน lymph node เป็นต้น HIV จะเข้าสู่เซลล์จะอาศัย receptor ที่อยู่บนผิวเซลล์ คือ CD4 ซึ่งปัจจุบันพบว่า HIV ยังต้องอาศัย coreceptor อื่น ๆ เช่น CCR5, CXCR4 ซึ่งเป็น chemokine receptor จากการค้นพบ receptor ต่าง ๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำให้เกิดโรคของ HIV และนำไปสู่การรักษาโรคในอนาคต ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์แบ่ง HIV-1 ออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะของการเข้าเซลล์ คือ
1. M - tropic virus (macrophage - tropic virus) จะเข้าสู่เซลล์โดยอาศัย CD4 และ chemokine receptor CCR5 เป็น coreceptor เป็นไวรัสที่ infect CD4 T cells และ macrophage และเป็นไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบในช่วงที่มีการติดเชื้อใหม่ ๆ และในระยะที่ไม่มีอาการ
2. T- tropic virus (T cell - tropic primary virus) เป็นไวรัสที่เข้าสู่เซลล์โดยอาศัย CD4 และ chemokine receptor CXCR4 (fusin) เป็น coreceptor พบในระยะท้าย ๆ ของโรค และพบร่วมกับการลดลงของ CD4 Tcell และการดำเนินโรคในระยะที่เป็นเอดส์
การค้นพบ receptor ใหม่ เมื่อตรวจสอบดู CCR5 พบว่ามีการกลายพันธุ์ในยีนนี้โดยที่มีการขาดหายไปของนิวคลิโอไทด์ 32 ตัว ทำให้ไม่มีการ express ของ CCR5 ที่ผิวเซลล์ ไวรัสจึงเข้าเซลล์ไม่ได้และพบในคนไข้บางรายที่มีการดำเนินโรคช้าจะมียีนของ CCR5 ข้างหนึ่งเกิดการกลายพันธุ์ (heterozygous CCR5)
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
HIV ทำลายระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร
เมื่อก่อนเชื่อว่า HIV เป็น latent infection แต่ปัจจุบัน พบว่า HIV แบ่งตัวเพิ่มจำนวนและ
ทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งค้นพบ โดย Dr. David Ho โดยพบว่าร่างกายจะต่อสู้โดยการสร้างภูมิต้านทาน (antibody) ทำลายไวรัสและสร้าง cytotoxic T lymphocyte ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้ออยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ทำให้คนไข้ไม่มีอาการปรากฏให้เห็นได้หลายปี จนกระทั่งไวรัสสามารถเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันได้ และทำให้เกิดการบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันอย่างร้ายแรง ผู้ป่วยก็จะกลายเป็นเอดส์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโรค สาเหตุที่ระยะระหว่างเริ่มติดเชื้อจนกระทั่งเป็นเอดส์มีระยะเวลาห่างกันหลายปี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถต่อสู้กับไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ HIV ก็มีการกลายพันธุ์สูง ทั้งนี้อาจเนื่องจากถูกแรงกดดันจากระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไวรัสหนีระบบภูมิคุ้มกันได้เสมอโดยการกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงรูปร่างใหม่จนระบบภูมิคุ้มกันจำไม่ได้ และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันเริ่มรู้จักไวรัสตัวใหม่และเริ่มทำลายไวรัสก็จะมีรูปร่างใหม่ไปอีก การต่อสู่ระหว่างไวรัสกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะดำเนินไปเช่นนี้หลายปี ดูได้จากความสัมพันธ์ของ CTL กับ ปริมาณไวรัส viral load ซึ่งวัดโดยวิธี quantitative ผู้ป่วยที่มีปริมารไวรัสในกระแสเลือดต่ำจะมีการดำเนินโรคช้า จากการค้นพบดังกล่าวทำให้เกิดการรักษา HIV infection ใหม่ ๆ โดยอาศัยทฤษฎีที่ว่า กดการสร้างหรือทำลายไวรัสให้มากที่สุดเพื่อให้โรคดำเนินไปช้าที่สุด โดยการให้ยาหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน ที่สำคัญคือ protease inhibitor ซึ่งหลังจากนำมาใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ พบว่าสามารถกดการสร้างไวรัสได้และทำให้เกิดการดื้อยาน้อยลง
ช่องทางการติดต่อที่สำคัญมี 3 ทาง คือ
1. ทางเพศสัมพันธ์ (heterosexual) การร่วมเพศกับผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือมีเชื้อโรคเอดส์
2. ทางเลือด (blood donor)
2.1 ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยเฉพาะชนิดฉีดเข้าเส้น
2.2 การรับเลือดหรืออวัยวะต่าง ๆ
3. การติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์สู่ลูกที่อยู่ในครรภ์
โอกาสที่ทารกจะได้รับเชื้อจากแม่ประมาณร้อยละ 30 ปัจจุบันมีการใช้ยา AZT โดยให้ในหญิงที่มีอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ไปจนคลอด ซึ่งสามารถช่วยให้ทารกปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์จากแม่ได้มากกว่าร้อยละ 50
ระยะของการติดเชื้อ HIV
ระยะที่ 1 ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV infection)
ใน 2-3 สัปดาห์หลังการได้รับเชื้อ HIV จะมีอาการคล้ายไข้หวัด ต่อมน้ำเหลืองโต อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยอาจมีอาการน้อยมากจนผู้ป่วยไม่สังเกต
ระยะที่ 2 ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (Asymptotic infection)
คนไข้จะไม่มีอาการใดเลย แต่ถ้าเจาะเลือดจะพบแอนติบอดี คือมีเลือดเอดส์บวกไปตลอดชีวิต แอนติบอดีจะเริ่มพบประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ หรืออาจเนิ่นนานไปถึง 3 เดือนก็เป็นได้ ช่วงหลังจากการได้รับเชื้อและตรวจไม่พบแอนติบอดีเราเรียกว่า window period
ระยะที่ 3 ระยะต่อมน้ำเหลืองโต (Persistent generalized lymphadenopathy, PGL)
ระยะนี้จะเกิดนานเท่าไรหลังจากรับเชื้อยังไม่ทราบแน่ชัด โดยต้องพบต่อมน้ำเหลืองโตตั้งแต่ 2 บริเวณขึ้นไปและมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม. นานเกินหนึ่งเดือน
ระยะที่ 4 ระยะติดเชื้อมีอาการ (Symptomatic HIV infection)
จะมีอาการพอสรุปได้ดังนี้
4.1 น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ (ลดเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม หรือเกิน 10 กิโลกรัม)
4.2 เป็นไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส เรื้อรังเกิน 4 สัปดาห์
4.3 ท้องเสียเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
4.4 เหงื่อออกตอนกลางคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ
4.5 เชื้อราในช่องปาก
4.6 มีอาการทางประสาท หลงลืม
4.7 เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ๆ
4.8 เป็นโรคเกี่ยวกับปอด
4.9 เป็นมะเร็งส่วนใหญ่ที่พบคือ Kaposi's sarcoma คือเป็นมะเร็งเยื่อบุหลอดเลือด
การป้องกันและรักษาโรคเอดส์
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่แทรกซ้อนซึ่งไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะผู้ป่วยขาดภูมิต้านทาน และมักเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ได้อย่างไร?
1. รักเดียวใจเดียว
2. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
3. ขอรับบริการปรึกษาเรื่องโรคเอดส์
4. ก่อนแต่งงาน และก่อนตั้งครรภ์ทุกครั้ง
5. ไม่ดื่มเหล้าและงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
6. ก่อนรับการถ่ายเลือด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริจาคเลือดไม่มีเชื้อโรคเอดส์
7. อย่าใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ติดยาเสพติด
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่แทรกซ้อนซึ่งไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะผู้ป่วยขาดภูมิต้านทาน และมักเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ได้อย่างไร?
1. รักเดียวใจเดียว
2. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
3. ขอรับบริการปรึกษาเรื่องโรคเอดส์
4. ก่อนแต่งงาน และก่อนตั้งครรภ์ทุกครั้ง
5. ไม่ดื่มเหล้าและงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
6. ก่อนรับการถ่ายเลือด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริจาคเลือดไม่มีเชื้อโรคเอดส์
7. อย่าใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ติดยาเสพติด
ขณะนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้ เป็นเพียงยับยั้ง
ไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในร่างกาย
ผู้ป่วยจะมีอายุยืนยาวไปอีกระยะหนึ่งเท่านั้น
1. การดูแลสุขภาพด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์มี 2 ลักษณะคือ
1.1 ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบัน มี 3 ประเภทคือ
- Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC
- Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV
- Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV
ยาเหล่านี้มีฤิทธิ์เพียงยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์แต่ไม่สามารถ กำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ และมีผลข้างเคียงได้แก่ โลหิตจาง คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นตามผิวหนัง ฯลฯ ดังนั้นการใช้ยาดังกล่าวต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
1.2 ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหากผู้ป่วยเอดส์มีภูมิต้านทานลดลงมาก (ค่าเม็ดเลือดขาว ชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ในเลือก 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) จะมีโอกาสติดโรคฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับยาป้องกัน เช่น
- INH ใช้ป้องกันวัณโรค
- Cotrimoxazole Dapsone Aerozolized pentamidine ใช้ป้องกันโรคปอดบวม
- Itraconazole Fluconazole Amphotericin B ใช้ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- Ketoconazole Itraconazole Fluconazole ใช้ป้องกันเชื้อรา ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคเอดส์ได้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะทราบผลว่าสำเร็จหรือไม่
2. การดูแลสุขภาพด้วยทางเลือกอื่น
เป็นวิธีการส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองอย่างง่ายๆ โดยคำนึงถึงมิติอันหลากหลายของมนุษย์ ไม่เน้นทางด้านร่างกายเท่านั้น อันก่อให้เกิดผลในแง่ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานและมีจิตใจสงบ มี 4 แนวทาง ได้แก่
1. การดูแลสุขภาพด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์มี 2 ลักษณะคือ
1.1 ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบัน มี 3 ประเภทคือ
- Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC
- Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV
- Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV
ยาเหล่านี้มีฤิทธิ์เพียงยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์แต่ไม่สามารถ กำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ และมีผลข้างเคียงได้แก่ โลหิตจาง คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นตามผิวหนัง ฯลฯ ดังนั้นการใช้ยาดังกล่าวต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
1.2 ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหากผู้ป่วยเอดส์มีภูมิต้านทานลดลงมาก (ค่าเม็ดเลือดขาว ชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ในเลือก 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) จะมีโอกาสติดโรคฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับยาป้องกัน เช่น
- INH ใช้ป้องกันวัณโรค
- Cotrimoxazole Dapsone Aerozolized pentamidine ใช้ป้องกันโรคปอดบวม
- Itraconazole Fluconazole Amphotericin B ใช้ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- Ketoconazole Itraconazole Fluconazole ใช้ป้องกันเชื้อรา ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคเอดส์ได้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะทราบผลว่าสำเร็จหรือไม่
2. การดูแลสุขภาพด้วยทางเลือกอื่น
เป็นวิธีการส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองอย่างง่ายๆ โดยคำนึงถึงมิติอันหลากหลายของมนุษย์ ไม่เน้นทางด้านร่างกายเท่านั้น อันก่อให้เกิดผลในแง่ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานและมีจิตใจสงบ มี 4 แนวทาง ได้แก่
2.1 ด้านโภชนาการ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่และเหมาะสมกับอาการของโรค
เพื่อให้ได้สารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนลักษณะอาการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยคือ
- น้ำหนักลด ควรเพิ่มอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และแป้ง งดอาหารประเภทไขมัน เนื่องจากย่อยและดูดซึมได้ยาก และควรดื่มน้ำมากๆ
- เบื่ออาหาร ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้งและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง
- มีแผลในปาก ควรรับประทานอาหารที่เคี้ยวและกลืนได้ง่ายให้พลังงานสูง เป็นน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่กรอบ แข็งและรสจัด
- คลื่นใส้อาเจียน ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง งดของทอด ของมัน อาหารที่มีรสเค็มและเปรี้ยวจะช่วยลดอาการนี้ได้ อาหารประเภทขิงจะช่วยให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น
- ท้องเสีย ควรเพิ่มอาหารประเภทแป้งหรือสารโปแตสเซียมสูง เช่น ส้ม น้ำมะพร้าว กล้วย มะเขือเทศ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงของทอด กาแฟ และอาหารที่มีเส้นใย เช่น ถั่วลิสง ข้าวกล้อง
2.2 สมุนไพร คือ ตัวยาที่ได้จากพืชสัตว์ และแร่ธาตุที่ยังไม่ได้แปรสภาพ มีฤทธิ์กะตุ้นภูมิคุ้มกันและบรรเทาอาการโรคติดเชื้อฉวยโอกาสบางชนิดได้แก่
- บรรเทาอาการท้องเสีย เช่น ฟ้าทะลายโจร ฝรั่ง ชา และมังคุด
- ลดไข้ เช่น ฟ้าทะลายโจร มะระ
- กระตุ้นให้อยากอาหาร เช่น บอระเพ็ด มะระ กระเทียม
- กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น มะขามป้อม กระเทียม ฟ้าทะลายโจร
- ขับเสมหะ และบรรเทาอาการไอ เช่น มะขามป้อม มะนาว มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น
- ขับลม เช่น กระเพราะ ตะไคร้ ขิง
- บรรเทาอาการทางผิวหนัง เช่น เสลดพังพอนตัวเมีย หรือพญายอ เหงือกปลาหมอ พลู
- สมานแผล เช่น ว่านหางจระเข้ แค ทับทิม
- ช่วยระบายท้อง เช่น ขี้เหล็ก
- บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น ยอ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลใดทางการแพทย์ที่ยืนยันผลของสมุนไพรในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์ ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัย
2.3 การออกกำลังกาย ถือเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยให้มีอายุยืนยาวอารมณ์แจ่มใส นอนหลับง่าย รูปร่างสมส่วน สุขภาพแข็งแรง ควรออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสมกับสภาพร่างกาย
2.4 การปฏิบัติสมาธิ เป็นกระบวนการที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องการ และเพิ่มความสามารถในการควบคุม และเสริมสร้างสุขภาพในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณดีขึ้น อาจทำได้โดย
2.4.1 การปฏิบัติโดยมีผู้ช่วยเหลือ เช่น พระสงฆ์ช่วยให้คำปรึกษา
2.4.2 การปฏิบัติสมาธิด้วยตนเอง เช่น
- สมาธิโดยการกำหนดลมหายใจ
- สมาธิโดยการเดินจงกรม
- สมาธิโดยใช้เทคนิคความเงียบ
- สมาธิ แบบทำให้สนุกเพลิดเพลินโดยการใช้ภาพจินตนาการที่คิดถึงแล้วรู้สึกสงบ สบาย เพลิดเพลิน
ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์?
- น้ำหนักลด ควรเพิ่มอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และแป้ง งดอาหารประเภทไขมัน เนื่องจากย่อยและดูดซึมได้ยาก และควรดื่มน้ำมากๆ
- เบื่ออาหาร ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้งและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง
- มีแผลในปาก ควรรับประทานอาหารที่เคี้ยวและกลืนได้ง่ายให้พลังงานสูง เป็นน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่กรอบ แข็งและรสจัด
- คลื่นใส้อาเจียน ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง งดของทอด ของมัน อาหารที่มีรสเค็มและเปรี้ยวจะช่วยลดอาการนี้ได้ อาหารประเภทขิงจะช่วยให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น
- ท้องเสีย ควรเพิ่มอาหารประเภทแป้งหรือสารโปแตสเซียมสูง เช่น ส้ม น้ำมะพร้าว กล้วย มะเขือเทศ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงของทอด กาแฟ และอาหารที่มีเส้นใย เช่น ถั่วลิสง ข้าวกล้อง
2.2 สมุนไพร คือ ตัวยาที่ได้จากพืชสัตว์ และแร่ธาตุที่ยังไม่ได้แปรสภาพ มีฤทธิ์กะตุ้นภูมิคุ้มกันและบรรเทาอาการโรคติดเชื้อฉวยโอกาสบางชนิดได้แก่
- บรรเทาอาการท้องเสีย เช่น ฟ้าทะลายโจร ฝรั่ง ชา และมังคุด
- ลดไข้ เช่น ฟ้าทะลายโจร มะระ
- กระตุ้นให้อยากอาหาร เช่น บอระเพ็ด มะระ กระเทียม
- กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น มะขามป้อม กระเทียม ฟ้าทะลายโจร
- ขับเสมหะ และบรรเทาอาการไอ เช่น มะขามป้อม มะนาว มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น
- ขับลม เช่น กระเพราะ ตะไคร้ ขิง
- บรรเทาอาการทางผิวหนัง เช่น เสลดพังพอนตัวเมีย หรือพญายอ เหงือกปลาหมอ พลู
- สมานแผล เช่น ว่านหางจระเข้ แค ทับทิม
- ช่วยระบายท้อง เช่น ขี้เหล็ก
- บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น ยอ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลใดทางการแพทย์ที่ยืนยันผลของสมุนไพรในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์ ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัย
2.3 การออกกำลังกาย ถือเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยให้มีอายุยืนยาวอารมณ์แจ่มใส นอนหลับง่าย รูปร่างสมส่วน สุขภาพแข็งแรง ควรออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสมกับสภาพร่างกาย
2.4 การปฏิบัติสมาธิ เป็นกระบวนการที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องการ และเพิ่มความสามารถในการควบคุม และเสริมสร้างสุขภาพในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณดีขึ้น อาจทำได้โดย
2.4.1 การปฏิบัติโดยมีผู้ช่วยเหลือ เช่น พระสงฆ์ช่วยให้คำปรึกษา
2.4.2 การปฏิบัติสมาธิด้วยตนเอง เช่น
- สมาธิโดยการกำหนดลมหายใจ
- สมาธิโดยการเดินจงกรม
- สมาธิโดยใช้เทคนิคความเงียบ
- สมาธิ แบบทำให้สนุกเพลิดเพลินโดยการใช้ภาพจินตนาการที่คิดถึงแล้วรู้สึกสงบ สบาย เพลิดเพลิน
ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์?
ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์มีหลายประการ
คือ
1. ปริมาณเชื้อเอดส์ หากได้รับเชื้อมากโอกาสติดโรคก็มากไปด้วย เชื้อเอดส์มีมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือ น้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด
2. การมีบาดแผล เพราะเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลทำให้ติดโรคได้ง่ายขึ้น
3. การติดเชื้ออื่นๆ ได้แก่การเป็นกามโรคบางชนิดเช่น แผลริมอ่อน แผลเริมทำให้มีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่แผลจำนวนมากพร้อมจะรับเชื้อได้โดยง่าย และเป็นหนทางให้เชื้อเอดส์เข้าสู่แผลได้ง่ายขึ้น
4. จำนวนครั้งของการสัมผัส การสัมผัสเชื้อโรคบ่อย จะมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้นไปด้วย
5. สุขภาพของผู้รับเชื้อ ถ้าไปสัมผัสเชื้อเอดส์ในขณะที่ร่างกายไม่แข็งแรงก็จะมีโอกาสรับเชื้อได้ง่ายขึ้น
1. ปริมาณเชื้อเอดส์ หากได้รับเชื้อมากโอกาสติดโรคก็มากไปด้วย เชื้อเอดส์มีมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือ น้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด
2. การมีบาดแผล เพราะเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลทำให้ติดโรคได้ง่ายขึ้น
3. การติดเชื้ออื่นๆ ได้แก่การเป็นกามโรคบางชนิดเช่น แผลริมอ่อน แผลเริมทำให้มีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่แผลจำนวนมากพร้อมจะรับเชื้อได้โดยง่าย และเป็นหนทางให้เชื้อเอดส์เข้าสู่แผลได้ง่ายขึ้น
4. จำนวนครั้งของการสัมผัส การสัมผัสเชื้อโรคบ่อย จะมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้นไปด้วย
5. สุขภาพของผู้รับเชื้อ ถ้าไปสัมผัสเชื้อเอดส์ในขณะที่ร่างกายไม่แข็งแรงก็จะมีโอกาสรับเชื้อได้ง่ายขึ้น
ใครบ้างที่ควรตรวจหาเชื้อเอดส์?
1. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
2. ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยา
3. ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
4. ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก
5. ผู้ที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของร่างกาย เช่น ผู้ที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศ (บางประเทศ)
ถ้าสงสัยว่าติดเชื้อเอดส์ควรตรวจเลือดเมื่อใด?
การตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอดส์นั้นมิใช่การตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ แต่เป็นการตรวจหาร่องรอยที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคนั้น ซึ่งเรียกว่า ภูมิต้านทาน และจะตรวจพบได้ในระยะเวลาตั้งแต่ 4 สัปดาห์ถึง 3 เดือนหลังจากรับเชื้อมาแล้วหรืออาจจะนานกว่านั้นก็ได้ ดังนั้น ถ้าสงสัยว่าติดเชื้อเอดส์ ไม่ควรตรวจเลือดทันที เพราะเลือดอาจจะยังไม่ให้ผลเป็นบวก ควรตรวจภายหลังจากที่สัมผัสเชื้อแล้ว 4 สัปดาห์ขึ้นไป จะให้ผลที่แน่นอนกว่า ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์แต่ยังไม่มีอาการอาจมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี ดังนั้น จึงควรที่จะดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันมิให้ผู้อื่นหรือคนใกล้ชิดติดเชื้อเอดส์ หากรู้จักระมัดระวังในเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้แล้ว ก็จะไม่เป็นที่รังเกียจของคนที่อยู่ด้วย และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและปลอดภัย
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ติดเชื้อ
เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว ควรทำตัวอย่างไร?
ผู้ติดเชื้อเอดส์ไม่ควรวิตกกังวลเกินไป ผู้ที่ยังไม่มีอาการสามารถดำเนินชีวิตตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการแล้ว ถ้าดูแลสุขภาพให้ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี และในอนาคตอาจจะมีการค้นพบยาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ได้
เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว ควรทำตัวอย่างไร?
ผู้ติดเชื้อเอดส์ไม่ควรวิตกกังวลเกินไป ผู้ที่ยังไม่มีอาการสามารถดำเนินชีวิตตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการแล้ว ถ้าดูแลสุขภาพให้ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี และในอนาคตอาจจะมีการค้นพบยาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ได้
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน
2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. หากมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับหรือแพร่เชื้อเอดส์
4. งดสิ่งเสพติดทุกชนิด
5. งดบริจาคเลือดหรืออวัยวะ
6. ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะอาจจะถ่ายทอดเชื้อให้ลูกได้ 30%
7. ทำจิตใจให้สงบ เช่น การฝึกสมาธิ
8. อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน
2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. หากมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับหรือแพร่เชื้อเอดส์
4. งดสิ่งเสพติดทุกชนิด
5. งดบริจาคเลือดหรืออวัยวะ
6. ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะอาจจะถ่ายทอดเชื้อให้ลูกได้ 30%
7. ทำจิตใจให้สงบ เช่น การฝึกสมาธิ
8. อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
การดำเนินชีวิตประจำวันสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์
1. คบหาสมาคมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนหรือเก็บตัวอยู่คนเดียว การพูดคุยแตะเนื้อต้องตัวกันตามธรรมดา ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นติดโรคจากท่านได้ และโรคนี้ไม่ติดต่อทางลมหายใจ ถ้าหากมีความวิตกกังวล ทุกข์ใจ ไม่จำเป็นต้องเก็บความทุกข์ไว้เพียงคนเดียว ควรปรึกษาคนที่เข้าใจและพร้อมจะรับฟังให้ความช่วยเหลือ อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้องที่สนิท คู่สมรส คู่รัก หากยังไม่มีคนที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเรา ขอให้พยายามติดต่อพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ที่อยู่ใกล้บ้าน โดยสอบถามได้จากหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งจะมีข้อมูลเรื่องกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ในพื้นที่
2. ควรระมัดระวังมิให้น้ำหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำเหลือ น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ และสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ กระเด็นหรือเปรอะเปื้อนผู้อื่น เพราะอาจมีเชื้อเอดส์ปะปนออกมาได้ การบ้วนน้ำลายหรือเสมหะ ควรใช้ภาชนะรองรับที่สามารถนำไปทิ้งหรือทำความสะอาดได้สะดวก
3. เมื่อสัมผัสหรือเปรอะเปื้อน เลือด น้ำเหลือง อาเจียน ปัสสาวะ หรือสิ่งขับถ่ายอื่น ๆ ให้รีบทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใช้แล้วควรนำไปซักให้สะอาด ก่อนนำไปใช้ต่อไป
4. ใช้ห้องน้ำร่วมกับผุ้อื่นได้ตามปกติ แต่ควรระมัดระวังอย่าให้สิ่งขับถ่าย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ อาเจียน เปรอะเปื้อนพื้น โถส้วม อ่างล้างมือ ควรจะล้างด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างห้องน้ำ (ที่มีส่วนผสมของคลอรีนอยู่ด้วย) เป็นประจำทุกวัน และล้างมือทุกครั้งหลังจากที่ใช้ห้องน้ำห้องส้วม
5. ถ้วย ชาม จาน แก้วน้ำ ควรล้างให้สะอาด แล้วทิ้งให้แห้ง ก่อนนำไปใช้
6. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
7. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
8. งดการบริจาคโลหิต หรืออวัยวะต่าง ๆ เช่น ดวงตา ไต น้ำอสุจิ
9. หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะเด็กมีโอกาสรับเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ได้ประมาณ 30%
10. ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคที่ปอด เพราะภูมิต้านทานโรคของผู้ติดเชื้อต่ำกว่าคนปกติ จะทำให้ติดโรคได้ง่าย
11. ไม่ควรดูแลสัตว์เลี้ยงหรือทำความสะอาดกรงสัตว์ เพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้
12. ผู้ติดสารเสพติดควรเลิกเสีย ถ้าเลิกไม่ได้ หรืออยู่ในระหว่างการรักษา เพื่อเลิกสารเสพติด ควรเปลี่ยนจากวิธีฉีดเป็นการสูบหรือกินแทน หากจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยา ไม่ควรใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
1. คบหาสมาคมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนหรือเก็บตัวอยู่คนเดียว การพูดคุยแตะเนื้อต้องตัวกันตามธรรมดา ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นติดโรคจากท่านได้ และโรคนี้ไม่ติดต่อทางลมหายใจ ถ้าหากมีความวิตกกังวล ทุกข์ใจ ไม่จำเป็นต้องเก็บความทุกข์ไว้เพียงคนเดียว ควรปรึกษาคนที่เข้าใจและพร้อมจะรับฟังให้ความช่วยเหลือ อาจเป็นพ่อแม่ พี่น้องที่สนิท คู่สมรส คู่รัก หากยังไม่มีคนที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเรา ขอให้พยายามติดต่อพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ที่อยู่ใกล้บ้าน โดยสอบถามได้จากหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งจะมีข้อมูลเรื่องกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ในพื้นที่
2. ควรระมัดระวังมิให้น้ำหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำเหลือ น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ และสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ กระเด็นหรือเปรอะเปื้อนผู้อื่น เพราะอาจมีเชื้อเอดส์ปะปนออกมาได้ การบ้วนน้ำลายหรือเสมหะ ควรใช้ภาชนะรองรับที่สามารถนำไปทิ้งหรือทำความสะอาดได้สะดวก
3. เมื่อสัมผัสหรือเปรอะเปื้อน เลือด น้ำเหลือง อาเจียน ปัสสาวะ หรือสิ่งขับถ่ายอื่น ๆ ให้รีบทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใช้แล้วควรนำไปซักให้สะอาด ก่อนนำไปใช้ต่อไป
4. ใช้ห้องน้ำร่วมกับผุ้อื่นได้ตามปกติ แต่ควรระมัดระวังอย่าให้สิ่งขับถ่าย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ อาเจียน เปรอะเปื้อนพื้น โถส้วม อ่างล้างมือ ควรจะล้างด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างห้องน้ำ (ที่มีส่วนผสมของคลอรีนอยู่ด้วย) เป็นประจำทุกวัน และล้างมือทุกครั้งหลังจากที่ใช้ห้องน้ำห้องส้วม
5. ถ้วย ชาม จาน แก้วน้ำ ควรล้างให้สะอาด แล้วทิ้งให้แห้ง ก่อนนำไปใช้
6. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
7. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
8. งดการบริจาคโลหิต หรืออวัยวะต่าง ๆ เช่น ดวงตา ไต น้ำอสุจิ
9. หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะเด็กมีโอกาสรับเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ได้ประมาณ 30%
10. ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคที่ปอด เพราะภูมิต้านทานโรคของผู้ติดเชื้อต่ำกว่าคนปกติ จะทำให้ติดโรคได้ง่าย
11. ไม่ควรดูแลสัตว์เลี้ยงหรือทำความสะอาดกรงสัตว์ เพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้
12. ผู้ติดสารเสพติดควรเลิกเสีย ถ้าเลิกไม่ได้ หรืออยู่ในระหว่างการรักษา เพื่อเลิกสารเสพติด ควรเปลี่ยนจากวิธีฉีดเป็นการสูบหรือกินแทน หากจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยา ไม่ควรใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
13. ควรพบแพทย์โดยใกล้ชิดเป็นระยะ ๆ
และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ญาติหรือผู้ใกล้ชิดควรปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์อย่างไร
ผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเอดส์มีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก เพราะโรคเอดส์ไม่ติดต่อกันง่าย ๆ แต่ถ้าบอกว่าไม่จำเป็นต้องป้องกันอะไรเลย ก็อาจจะไม่สบายใจ และยังมีคงมีความหวาดกลัวหรือหวาดระแวงอยู่ดี ดังนั้น การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง จะเพิ่มความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ได้ตามนั้นทั้งหมด เพราะการรักษาสุขอนามัยตามธรรมดา ก็ป้องกันเอดส์ได้อยู่แล้ว ข้อปฏิบัติที่ควรคำนึงถึงได้แก่
ผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเอดส์มีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก เพราะโรคเอดส์ไม่ติดต่อกันง่าย ๆ แต่ถ้าบอกว่าไม่จำเป็นต้องป้องกันอะไรเลย ก็อาจจะไม่สบายใจ และยังมีคงมีความหวาดกลัวหรือหวาดระแวงอยู่ดี ดังนั้น การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง จะเพิ่มความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ได้ตามนั้นทั้งหมด เพราะการรักษาสุขอนามัยตามธรรมดา ก็ป้องกันเอดส์ได้อยู่แล้ว ข้อปฏิบัติที่ควรคำนึงถึงได้แก่
การล้างมือ
การล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นการป้องกันการติดต่อของโรคที่ดีและง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง แต่ไม่จำเป็นต้องล้างทุกครั้งที่สัมผัสแตะเนื้อต้องตัวธรรมดา ถ้าไม่มีแผลเปิดและไม่สัมผัสกับน้ำหลั่งของผู้ติดเชื้อ ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสกับน้ำหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือเมื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในการเข้าห้องน้ำ หรือภายหลังจากทำความสะอาดบริเวณที่เปื้อนสิ่งสกปรก ควรตัดเล็บให้สั่นเสมอ แต่ไม่ควรสั้นเกินไปหรือตัดซอกเล็บจนลึกเกินไป
การใช้ถุงมือ
ควรใช้ถุงมือยางทุกครั้งที่สัมผัสกับน้ำหลั่งหรือบาดแผลของผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือเมื่อมีแผลเปิดบริเวณมือ หรือเมื่อสัมผัสกับเสื้อผ้าเครื่องใช้ที่เปื้อน้ำหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือเมื่อทำความสะอาดบริเวณที่อาจเปรอะเปื้อนน้ำหลั่งของผู้ป่วย ควรสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อไม่แน่ใจว่ามีบาดแผลที่มือหรือไม่ ในกรณีไม่มีถุงมือยาง ใช้ถุงพลาสติกแทนก็ได้ หลังจากถอดถุงมือแล้วควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำอีกครั้งหนึ่งด้วย ไม่จำเป็นต้องสวมถุงมือเมื่อจะทำความสะอาดบ้านตามปกติ เมื่อสัมผัสผิวหนังที่ไม่เปื้อนเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อ หรือการทำงานบ้านอย่างอื่น ถุงมือยางที่ใช้แล้ว ควรล้างทำความสะอาดและผึ่งให้แห้ง สามารถนำมาใช้ได้อีกจนกว่าจะขาด
การล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นการป้องกันการติดต่อของโรคที่ดีและง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง แต่ไม่จำเป็นต้องล้างทุกครั้งที่สัมผัสแตะเนื้อต้องตัวธรรมดา ถ้าไม่มีแผลเปิดและไม่สัมผัสกับน้ำหลั่งของผู้ติดเชื้อ ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสกับน้ำหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือเมื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในการเข้าห้องน้ำ หรือภายหลังจากทำความสะอาดบริเวณที่เปื้อนสิ่งสกปรก ควรตัดเล็บให้สั่นเสมอ แต่ไม่ควรสั้นเกินไปหรือตัดซอกเล็บจนลึกเกินไป
การใช้ถุงมือ
ควรใช้ถุงมือยางทุกครั้งที่สัมผัสกับน้ำหลั่งหรือบาดแผลของผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือเมื่อมีแผลเปิดบริเวณมือ หรือเมื่อสัมผัสกับเสื้อผ้าเครื่องใช้ที่เปื้อน้ำหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือเมื่อทำความสะอาดบริเวณที่อาจเปรอะเปื้อนน้ำหลั่งของผู้ป่วย ควรสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อไม่แน่ใจว่ามีบาดแผลที่มือหรือไม่ ในกรณีไม่มีถุงมือยาง ใช้ถุงพลาสติกแทนก็ได้ หลังจากถอดถุงมือแล้วควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำอีกครั้งหนึ่งด้วย ไม่จำเป็นต้องสวมถุงมือเมื่อจะทำความสะอาดบ้านตามปกติ เมื่อสัมผัสผิวหนังที่ไม่เปื้อนเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อ หรือการทำงานบ้านอย่างอื่น ถุงมือยางที่ใช้แล้ว ควรล้างทำความสะอาดและผึ่งให้แห้ง สามารถนำมาใช้ได้อีกจนกว่าจะขาด
เสื้อผ้า
ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอนของผู้ติดเชื้อ
ผู้ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องใช้เสื้อพิเศษแต่อย่างใด เสื้อผ้าธรรมดาที่ใช้อยู่ประจำวัน สามารถนำมาซักร่วมกับเสื้อผ้าของคนอื่น ไม่จำเป็นต้องแยกซักต่างหาก สำหรับเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนที่เปรอะเปื้อนน้ำหลั่งต่าง ๆ ของผู้ติดเชื้อควรแยกซักต่างหาก ควรสวมถุงมือเวลาจะจับต้อง ควรนำมาแช่ในน้ำผสมน้ำยาซักผ้าขาวเสียก่อนประมาณ 30 นาที แล้วนำไปซักตามปกติ
ผู้ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องใช้เสื้อพิเศษแต่อย่างใด เสื้อผ้าธรรมดาที่ใช้อยู่ประจำวัน สามารถนำมาซักร่วมกับเสื้อผ้าของคนอื่น ไม่จำเป็นต้องแยกซักต่างหาก สำหรับเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนที่เปรอะเปื้อนน้ำหลั่งต่าง ๆ ของผู้ติดเชื้อควรแยกซักต่างหาก ควรสวมถุงมือเวลาจะจับต้อง ควรนำมาแช่ในน้ำผสมน้ำยาซักผ้าขาวเสียก่อนประมาณ 30 นาที แล้วนำไปซักตามปกติ
การทำความสะอาดพื้นห้องที่เปรอะเปื้อนน้ำหลั่งต่างๆ
ควรสวมถุงมือแล้วใช้ผ้าหรือกระดาษชำระเช็ดบริเวณที่เปรอะเปื้อนนั้น แล้วทิ้งในถุงพลาสติกเพื่อนำไปทำลาย จาากนั้นเช็ดถูบริเวณนั้นด้วยน้ำยาเช็ดพื้นและอาจถูซ้ำอีกครั้งด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
ควรสวมถุงมือแล้วใช้ผ้าหรือกระดาษชำระเช็ดบริเวณที่เปรอะเปื้อนนั้น แล้วทิ้งในถุงพลาสติกเพื่อนำไปทำลาย จาากนั้นเช็ดถูบริเวณนั้นด้วยน้ำยาเช็ดพื้นและอาจถูซ้ำอีกครั้งด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
ห้องน้ำและห้องส้วม
ทุกคนในบ้านสามารถใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมร่วมกับผู้ติดเชื้อได้แต่ควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ในการทำความสะอาดควรสวมถุงมือด้วย โดยการใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ (หรืออาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแทนก็ได้) เช็ดพื้นห้องน้ำด้วยไม้ถูพื้น จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งก่อนจะนำไปใช้เช็ดถูส่วนอื่นของบ้าน เครื่องใช้ในห้องน้ำที่ควรแยกไว้สำหรับทุกคนเป็นการเฉพาะ ได้แก่ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน และที่โกนหนวด เป็นต้น
ทุกคนในบ้านสามารถใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมร่วมกับผู้ติดเชื้อได้แต่ควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ในการทำความสะอาดควรสวมถุงมือด้วย โดยการใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ (หรืออาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแทนก็ได้) เช็ดพื้นห้องน้ำด้วยไม้ถูพื้น จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งก่อนจะนำไปใช้เช็ดถูส่วนอื่นของบ้าน เครื่องใช้ในห้องน้ำที่ควรแยกไว้สำหรับทุกคนเป็นการเฉพาะ ได้แก่ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน และที่โกนหนวด เป็นต้น
จานชาม
และเครื่องใช้ในครัว
ไม่จำเป็นต้องแยกเครื่องครัวหรือเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารเฉพาะสำหรับผู้ติดเชื้อ สามารถใช้รวมกันได้ แต่ควรล้างให้สะอาดและผึ่งให้แห้งทุกครั้งก่อนนำมาใช้เสมอ การรับประทานอาหารจากสำรับเดียวกัน ควรใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคระบบทางเดินอาหาร
ไม่จำเป็นต้องแยกเครื่องครัวหรือเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารเฉพาะสำหรับผู้ติดเชื้อ สามารถใช้รวมกันได้ แต่ควรล้างให้สะอาดและผึ่งให้แห้งทุกครั้งก่อนนำมาใช้เสมอ การรับประทานอาหารจากสำรับเดียวกัน ควรใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคระบบทางเดินอาหาร
ไปเที่ยวหญิงโสเภณีและเป็นกามโรคจะมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ด้วยหรือไม่
อาจจะเป็นได้ เพราะกามโรคและโรคเอดส์ ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โดยเฉพาะกามโรคชนิดที่มีบาดแผลที่อวัยวะเพศ เช่น แผลริมอ่อน แผลริมแข็ง ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์ได้มากกว่าปกติ ทางที่ดีควรไปรับบริการปรึกษาและตรวจเลือดเพื่อดูว่าติดเชื้อเอดส์มาแล้วหรือยัง จะได้ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คู่ครองหรือคู่นอนของท่านด้วย
อาจจะเป็นได้ เพราะกามโรคและโรคเอดส์ ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โดยเฉพาะกามโรคชนิดที่มีบาดแผลที่อวัยวะเพศ เช่น แผลริมอ่อน แผลริมแข็ง ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์ได้มากกว่าปกติ ทางที่ดีควรไปรับบริการปรึกษาและตรวจเลือดเพื่อดูว่าติดเชื้อเอดส์มาแล้วหรือยัง จะได้ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คู่ครองหรือคู่นอนของท่านด้วย
คู่นอนที่ร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ได้สูงมากจากรายงานการศึกษาพบว่า
อัตราเสี่ยงในกลุ่มคู่นอนที่มีการร่วมเพศกันอย่าง "บ่อยครั้ง" หรือ "สม่ำเสมอ"
พบว่ามีอัตราเสี่ยงต่อการติดโรคสูงประมาณ 50-60% ถ้าร่วมเพศเพียงครั้งเดียว
โอกาสติดเชื้อจะน้อยกว่านั้นมาก อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าจะมีเชื้อเอดส์หรือไม่
ควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
คนที่ติดเชื้อเอดส์ในระยะไม่มีอาการกับคนที่เป็นโรคเอดส์แล้ว
ใครมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้มากกว่ากัน
ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ อาจจะมีปริมาณไวรัสน้อยกว่าคนที่เป็นโรคเอดส์แล้ว จึงน่าจะมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้น้อยกว่า แต่ถ้าดูในแง่ของการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับคนในสังคมได้มากกว่าคนที่เป็นโรคเอดส์ เพราะคนที่เป็นโรคเอดส์แล้วมักจะอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย ไม่มีอารมณ์ทางเพศ จึงไม่ค่อยมั่วสุมหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่วนคนที่ไม่มีอาการมักจะมีสุขภาพแข็งแรง และยังมีอารมณ์ทางเพศอยู่ จึงมีทางแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตามการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคเอดส์หรือกับผู้ที่ไม่มีอาการ ต่างก็มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งนั้น จึงต้องป้องกันเอดส์โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ อาจจะมีปริมาณไวรัสน้อยกว่าคนที่เป็นโรคเอดส์แล้ว จึงน่าจะมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้น้อยกว่า แต่ถ้าดูในแง่ของการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับคนในสังคมได้มากกว่าคนที่เป็นโรคเอดส์ เพราะคนที่เป็นโรคเอดส์แล้วมักจะอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย ไม่มีอารมณ์ทางเพศ จึงไม่ค่อยมั่วสุมหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่วนคนที่ไม่มีอาการมักจะมีสุขภาพแข็งแรง และยังมีอารมณ์ทางเพศอยู่ จึงมีทางแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตามการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคเอดส์หรือกับผู้ที่ไม่มีอาการ ต่างก็มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งนั้น จึงต้องป้องกันเอดส์โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
ถ้าติดเชื้อเอดส์แล้วแต่เลือดยังไม่แสดงผล
"บวก" จะมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้หรือไม่
แพร่ได้ เพราะแม้ว่าเลือดจะยังไม่ให้ผล "บวก" แต่ก็มีเชื้อในร่างกายแล้ว สามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ในช่วงนี้ทางการแพทย์เรียกว่า "Window period" คือระยะที่มีเชื้อในร่างกาย แต่ตรวจไม่พบ จึงต้องระมัดระวังว่าในช่วงนี้อาจจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ด้วย (ถึงแม้คนที่ไปสัมผัสด้วยจะมีผลเลือดเป็น "ลบ" อยู่ในขณะนั้นก็ตาม)
แพร่ได้ เพราะแม้ว่าเลือดจะยังไม่ให้ผล "บวก" แต่ก็มีเชื้อในร่างกายแล้ว สามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ในช่วงนี้ทางการแพทย์เรียกว่า "Window period" คือระยะที่มีเชื้อในร่างกาย แต่ตรวจไม่พบ จึงต้องระมัดระวังว่าในช่วงนี้อาจจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ด้วย (ถึงแม้คนที่ไปสัมผัสด้วยจะมีผลเลือดเป็น "ลบ" อยู่ในขณะนั้นก็ตาม)
เมื่อไปตรวจเลือด (ไม่ได้บอกว่าจะตรวจเอดส์) แล้วได้ผลเป็น "บวก"
แสดงว่าติดเชื้อเอดส์ใช่หรือไม่
ไม่ใช่เสมอไปเพราะคำว่า "เลือดบวก" ใช้แสดงผลการตรวจอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการตรวจเอดส์เสมอไปบางครั้งอาจจะตรวจกามโรค (โรคซิฟิลิส) ถ้าเป็นก็จะแสดงผลว่าเป็น "บวก" ต่อซิฟิลิส แพทย์อาจจะตรวจเลือดหาเชื้อตับอักเสบชนิด บี ถ้าพบเชื้อก็จะให้ผลว่าเป็น "บวก" ต่อเชื้อตับอักเสบชนิดบีเช่นกัน ดังนั้นถ้าทราบผลการตรวจเลือดเป็น "บวก" ให้ถามแพทย์ให้แน่ใจว่า "บวกอะไร" ใช่ "บวกเอดส์" หรือไม่
ไม่ใช่เสมอไปเพราะคำว่า "เลือดบวก" ใช้แสดงผลการตรวจอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการตรวจเอดส์เสมอไปบางครั้งอาจจะตรวจกามโรค (โรคซิฟิลิส) ถ้าเป็นก็จะแสดงผลว่าเป็น "บวก" ต่อซิฟิลิส แพทย์อาจจะตรวจเลือดหาเชื้อตับอักเสบชนิด บี ถ้าพบเชื้อก็จะให้ผลว่าเป็น "บวก" ต่อเชื้อตับอักเสบชนิดบีเช่นกัน ดังนั้นถ้าทราบผลการตรวจเลือดเป็น "บวก" ให้ถามแพทย์ให้แน่ใจว่า "บวกอะไร" ใช่ "บวกเอดส์" หรือไม่
ผู้ติดเชื้อเอดส์
จะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าใด
ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ไม่มีอาการ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี บางรายอยู่ได้ถึง 10 ปี โดยไม่มีอาการ ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งต้องไม่ไปรับเชื้อเพิ่มอีก พบว่าผู้มีกำลังใจเข้มแข็งสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกตินานกว่าผู้ที่หมดกำลังใจ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ติดเชื้อต้องการมากคือความเห็นใจ และการยอมรับจากครอบครัว เพื่อนและสังคมรอบข้าง สำหรับผู้ที่มีอาการแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเอดส์หลายคนที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปีขึ้นไป
ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ไม่มีอาการ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี บางรายอยู่ได้ถึง 10 ปี โดยไม่มีอาการ ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งต้องไม่ไปรับเชื้อเพิ่มอีก พบว่าผู้มีกำลังใจเข้มแข็งสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกตินานกว่าผู้ที่หมดกำลังใจ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ติดเชื้อต้องการมากคือความเห็นใจ และการยอมรับจากครอบครัว เพื่อนและสังคมรอบข้าง สำหรับผู้ที่มีอาการแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเอดส์หลายคนที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปีขึ้นไป
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักทำให้ติดเอดส์ได้ง่ายกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องทางปกติหรือไม่
แน่นอน เพราะทวารหนักไม่ใช่ช่องทางที่ธรรมชาติสร้างให้ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ จึงไม่มีสารหล่อลื่นที่ทำให้การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปอย่างสะดวก ราบรื่น เมื่อมีการเสียดสีจึงอาจจะเกิดการฉีกขาด หรือมีแผลถลอกทำให้เป็นช่องทางเปิดรับเชื้อเอดส์จากน้ำอสุจิของคู่เพศสัมพันธ์เข้าไปสู่ร่างกายได้
ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเอดส์มากกว่าผู้หญิงจริงหรือไม่
ไม่จริง แม้ว่าจากสถิติจำนวนผู้ป่วยเอดส์จะพบว่า ผู้ชายมีจำนวนมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3-4 เท่า คงเป็นเพราะผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นจากการมีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน หรือการใช้ยาเสพติด จึงทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อเอดส์ได้มากกว่า แต่ด้วยเหตุผลทางวิชาการ พบว่าผู้หญิงจะมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าผู้ชาย แม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์น้อยครั้งกว่าผู้ชายก็ตาม เพราะอวัยวะเพศของผู้หญิงสามารถรับเชื้อได้ง่ายกว่าของเพศชาย และในปัจจุบันพบว่าผู้หญิงลายคนได้รับเชื้อเอดส์มาโดยไม่รู้ตัว หรือเรียกได้ว่าอยู่ในภาวะจำยอมที่ไม่มีโอกาสต่อรองแต่อย่างใด เพราะผู้ที่นำเชื้อมาให้นั่นคือสามีหรือคู่รักนั่นเอง
ทำไมสัตว์โลกชนิดอื่นจึงไม่เป็นเอดส์
เพราะเชื้อไวรัสชนิดที่เป็นตัวก่อโรคเอดส์
หรือ HIV
(Human Immunodeficiency Virus) จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น
ไม่สามารถเจริญเติบโตหรือขยายพันธ์ได้ในสัตว์อื่น ๆ
จึงไม่พบว่ามีสัตว์ชนิดใดเป็นโรคเอดส์ หรือเป็นตัวนำเชื้อไวรัสเอดส์
มิฉะนั้นการทดลองยาหรือวัคซีนป้องกันโรคเอดส์
คงจะดำเนินการได้ง่ายกว่านี้เพราะสามารถใช้สัตว์อื่น
ๆ ทดลองได้
การทำจิตใจให้แจ่มใสช่วยรักษาโรคเอดส์ได้หรือไม่
ได้แน่นอน ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันมากเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจสภาพจิตใจที่เข้มแข็งมีอิทธิพลต่อสุขภาพร่างกายมาก การทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง จะสามารถต่อสู้กับโรคร้ายใด ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ สำหรับเรื่องโรคเอดส์ ได้มีผู้รายงานว่าการทำจิตใจให้แจ่มใจ สงบ เข้มแข็ง และมั่นคงด้วยการทำสมาธิ จะสามารถทำให้ผู้นั่นเข้าสู่ระยะท้ายของโรคเอดส์ได้ช้ากว่าผู้ที่มีความวิตกกังวล ท้อแท้ และไม่สามารถควบคุมจิตใจได้
ได้แน่นอน ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันมากเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจสภาพจิตใจที่เข้มแข็งมีอิทธิพลต่อสุขภาพร่างกายมาก การทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง จะสามารถต่อสู้กับโรคร้ายใด ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ สำหรับเรื่องโรคเอดส์ ได้มีผู้รายงานว่าการทำจิตใจให้แจ่มใจ สงบ เข้มแข็ง และมั่นคงด้วยการทำสมาธิ จะสามารถทำให้ผู้นั่นเข้าสู่ระยะท้ายของโรคเอดส์ได้ช้ากว่าผู้ที่มีความวิตกกังวล ท้อแท้ และไม่สามารถควบคุมจิตใจได้
หากคู่นอนไม่ใช่ผู้ชายบริการทางเพศคงปลอดภัยจากเอดส์ ?
คิดดูแล้วก็น่าจะเป็นเช่นนั้น
เพราะผู้ขายบริการทางเพศน่าจะมีโอกาสได้รับเชื้อเอดส์มากกว่าคนปกติทั่วไป
จากการประกอบอาชีพขายบริการทางเพศ
ซึ่งจะเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้รับบริการหลายคน
ในขณะนี้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคเอดส์อย่างกว้างขวางทำให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจดีว่าสามารถติดเชื้อเอดส์ได้จากการรับบริการทางเพศ
จึงพยายามหลีกเลี่ยงการซื้อบริการทางเพศ
ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการทางเพศไปเป็นชนิดแอบแฝง เช่น นักร้อง นางแบบ
สาวเสิร์ฟ
และมีหลายคนที่เลิกซื้อบริการทางเพศแต่กลับมานิยมการมีเพศสัมพันธ์กับกลุ่มที่คุ้นเคย
หรือเพื่อน เพราะไว้ใจว่าคนเหล่านี้คงไม่มีโอกาสติดเอดส์
แต่ที่จริงแล้วเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยนั้นจะติดเชื้อเอดส์หรือไม่
บางคนแม้ว่าจะไม่ใช่ผู้ขายบริการทางเพศ แต่ก็อาจจะมีคู่นอนหลายคน
และการดูจากรูปร่างหน้าตาคงบอกไม่ได้ว่าติดเอดส์แล้วหรือยัง ดังนั้น
ควรคิดให้ดีก่อนว่าการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้งมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ได้ไม่ว่าคน ๆ
นั้นจะเป็นผู้ขายบริการทางเพศหรือไม่ก็ตาม
ผลิตภัณฑ์ 4ไล้ฟ์
ที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น